เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566 รศ.ดร.นิพนธ์ เกตุจ้อย ผู้อำนวยการ SGtech และ รศ.ดร.ประพิธาริ์ ธนารักษ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร เข้าร่วมงานสัมมนา TGED ส่งเสริมศักยภาพการพัฒนานโยบายและเทคโนโลยี Agrivoltaics ของไทย หัวข้อ “การปลูกพืชร่วมกันกับแผงโซลาร์เซลล์ (Agrivoltaics) ในประเทศไทย” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของโครงการ Thai-German Energy Dialogue (#TGED) เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่อง Agrivoltaics และสร้างโอกาสการสนทนากับหน่วยงานรัฐของไทยที่เกี่ยวข้อง จัดโดย องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (#GIZ)
ดร.สมภพ พัฒนอริยางกูล ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน กล่าวเปิดงาน โดยกล่าวถึงความพยายามของประเทศไทยในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือก และย้ำความตั้งใจของประเทศไทยที่จะร่วมมือกับรัฐบาลเยอรมันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันวางแผนการที่มีประสิทธิผลเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานที่สะอาดและยั่งยืน
.
ในคำกล่าวเปิดงานคุณลิกกี้ ลี พิทเซ่น (Likki-Lee Pitzen) โฆษกสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย ได้เน้นความสำคัญของโครงการ TGED ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและเยอรมนี และยังกล่าวถึงความตั้งใจของเยอรมนีที่จะเป็นผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนไปพร้อมกับการรักษาคุณภาพสินค้าเกษตรที่ส่งออก ซึ่งคล้ายกับประเทศไทยที่ภาคเกษตรกรรมมีความสำคัญอย่างมาก และมีเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยิ่งใหญ่
.
ในงานนี้มีผู้เข้าร่วมสัมมนากว่าหนึ่งร้อยคน โดยเป็นตัวแทนจากกระทรวงต่าง ๆ ของไทย และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ ภายในงาน ผู้เชี่ยวชาญจากวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี (SGtech) มหาวิทยาลัยนเรศวร และนักวิจัยจากสถาบันวิจัยด้านพลังงานไฟฟ้าในเยอรมัน Fraunhofer Institute for Solar Energy Systems ISE และ PSE Projects GmbH ได้ให้ความรู้ในเรื่อง Agrivoltaics และสถานการณ์ปัจจุบันของ Agrivoltaics ในประเทศไทยจากการศึกษาภายใต้โครงการ TGED นอกจากนั้น ยังนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีจากกรณีศึกษานานาชาติ รวมไปถึงวิธีการนำแนวปฏิบัติเหล่านั้นมาปรับใช้ในบริบทของประเทศไทย
.
หนึ่งในข้อแนะนำสำหรับประเทศไทย คือควรเน้นการพัฒนาศักยภาพสำหรับชุมชนท้องถิ่นเพื่อที่จะแสดงว่า Agrivoltaics เป็นประโยชน์ต่อทั้งเจ้าของฟาร์มและผู้พัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังย้ำถึงความสำคัญของนโยบายและข้อบังคับของภาครัฐ เพื่อที่จะจูงใจและช่วยให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นได้ง่ายขึ้น และทำให้เทคโนโลยีคงความทันสมัย
.
โครงการ Thai-German Energy Dialogue หรือ TGED สนับสนุนโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMWK) และดำเนินการโดย GIZ เป็นส่วนหนึ่งของความตั้งใจของเยอรมนีที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานหมุนเวียนของนานาชาติ ซึ่งความร่วมมือระหว่างประเทศด้านพลังงานและการอภิปรายแลกเปลี่ยนด้านพลังงานนับเป็นกลไกสำคัญ โดยความร่วมมือนี้ยังรวมไปถึงการพูดคุยในระดับรัฐต่อรัฐ และกิจกรรมโครงการที่มีจุดประสงค์และผลที่เป็นรูปธรรม พร้อมเน้นการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจของไทยและเยอรมนี
.
(เรื่อง: ณิชากร พัฒนาถาวร // ภาพ: โครงการ Thai-German Energy Dialogue)
Cr. Page GIZ Thailand
ดร.สมภพ พัฒนอริยางกูล ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน
Dr Sompop Pattanariyankool, Inspector-General, Ministry of Energy of Thailand
คุณลิกกี้ ลี พิทเซ่น โฆษกสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย
Ms Likki-Lee Pitzen, Spokesperson of the German Embassy
(จากซ้ายไปขวา) คุณทิม นีส์ ผู้จัดการโครงการ TGED; คุณ ลิกกี้ ลี พิทเซ่น โฆษกสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี; ดร.สมภพ พัฒนอริยางกูล ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน; คุณกฤติยา เพ็ชรศรี กองการต่างประเทศ กระทรวงพลังงาน
(From left to right) Mr Tim Nees, TGED Programme Manager; Ms Likki-Lee Pitzen, Spokesperson of the German Embassy; Dr Sompop Pattanariyankool, Inspector-General of the Ministry of Energy; Ms Krittiya Petsee, International Affair Division, Ministry of Energy
Post Views: 171