ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมาร์ตซิตี้และนวัตกรรมดิจิทัล

Doctor of Philosophy Program in Smart City Management and Digital Innovation

10

จำนวนรับเข้าศึกษา / คน / ปี

Expected Number of Admitted Students

3

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร / ปี

Duration of Study (Years)

400,000

ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร

Fixed-Rate Tuition fee (THB)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์ : 055-963180
e-Mail : sgtech@nu.ac.th

โครงสร้างหลักสูตร

ปริญญาเอก แบบ 2 ภาคการศึกษา (ภาคปกติ)

แผนการศึกษา

ปริญญาเอก แบบ 2 ภาคการศึกษา (ภาคปกติ)

ปรัชญาของหลักสูตร

     หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมาร์ตซิตี้และนวัตกรรมดิจิทัล มุ่งเน้นการผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะการพัฒนาสมาร์ตซิตี้ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถด้านการจัดการสมาร์ตซิตี้และนวัตกรรมดิจิทัลที่สามารถวิจัยประยุกต์ สร้างองค์ความรู้ใหม่และสร้างนวัตกรรม ที่สามารถแข่งขันในระดับสากลได้ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาสมาร์ตซิตี้ที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลกอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของหลักสูตร

    การพัฒนาเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ตซิตี้เพื่อพัฒนาด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สามารถทำได้โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการเมืองและการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกให้เป็นเมืองอัจฉริยะ ปลอดภัย สะดวกสําหรับคนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและโอกาสของเมืองด้วยการมีส่วนร่วมและการลงทุนของภาคเอกชน ชุมชน และภาคประชาสังคม รวมทั้งส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนในเมือง ตลอดจนลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มประชากรที่อาศัยในเขตเมือง ทั้งนี้จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงองค์ประกอบต่างๆ ของเมืองอัจฉริยะที่ประกอบไปด้วย เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) การเคลื่อนย้ายอัจฉริยะ (Smart Mobility) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) การจัดการภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) ประชาชนอัจฉริยะ (Smart People) และการใช้ชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมาร์ตซิตี้และนวัตกรรมดิจิทัล เป็นหลักสูตรที่มุ่งส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่และสร้างนวัตกรรมที่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาของเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด และพัฒนาสมาร์ตซิตี้ที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคมของประเทศและของโลกอย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

1)  นักบริหารองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน 
2)  อาจารย์ประจำสถาบันการศึกษา 
3)  นักวิจัยประจำสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา บริษัทเอกชน 
4)  นักวิทยาศาสตร์ในกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสมาร์ตซิตี้ 
5)  ผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องใช้แพลตฟอร์ม (Platform) สำหรับการบริหารจัดการสมาร์ตซิตี้ 
6)  นักออกแบบพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อแก้ปัญหาในการบริหารจัดการของสมาร์ตซิตี้ 
7)  นักพัฒนาซอฟแวร์และพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

1)  สามารถแก้ไขปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม ยุติธรรมและชัดเจน โดยคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น
2)  สามารถวิเคราะห์ปัญหาทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
3)  มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความรับผิดชอบ มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
4)  มีภาวะความเป็นผู้นำ ในการปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรม จริยธรรม ได้อย่างเหมาะสม

2 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ 

1)  สามารถสร้างนวัตกรรมและสร้างองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาการจัดการสมาร์ตซิตี้และนวัตกรรมดิจิทัล
2)  มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้และลึกซึ้งในองค์ความรู้ที่เป็นแก่นในสาขาวิชาการจัดการสมาร์ตซิตี้และนวัตกรรมดิจิทัลและรู้เท่าทันสถานการณ์ด้านสมาร์ตซิตี้ในระดับชาติและระดับนานาชาติ 
3)  มีความรู้ในเทคนิคการวิจัยและพัฒนาข้อสรุปซึ่งเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาการจัดการสมาร์ตซิตี้และนวัตกรรมดิจิทัลได้อย่างชาญฉลาด

3 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

1)  สามารถใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแสวงหาความรู้เพื่อวิเคราะห์ประเด็นและแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการใหม่อย่างสร้างสรรค์
2)  สามารถบูรณาการผลการวิจัยและทฤษฎีทั้งจากภายในและภายนอกสาขาวิชาเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจใหม่ 
3)  สามารถออกแบบและดำเนินการโครงการวิจัยในเรื่องที่ซับซ้อนที่เกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านสมาร์ตซิตี้ได้อย่างมีนัยสำคัญ

4 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ 

1)  มีความสามารถสูงในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการและสามารถวางแผนวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนด้วยตนเอง
2)  มีความเป็นผู้นำในทางวิชาการอย่างโดดเด่น สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ และสามารถแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน 
3)  สามารถวางแผนในการปรับปรุงตนเองและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 

1)  สามารถใช้ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่สำคัญและซับซ้อนได้ รวมถึงสรุปปัญหาและเสนอแนะแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ โดยเจาะลึกในสาขาวิชาการจัดการสมาร์ตซิตี้และนวัตกรรมดิจิทัล
2)  สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับกลุ่มบุคคล ต่างๆ ในวงการวิชาการและชุมชนทั่วไป โดยการนำเสนอรายงานในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ รวมทั้งวิทยานิพนธ์หรือโครงการค้นคว้าที่สำคัญ 
3)  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์ด้านสมาร์ตซิตี้ของโลก