ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสมาร์ตกริดเทคโนโลยี

Doctor of Philosophy Program in Smart Grid Technology

10

จำนวนรับเข้าศึกษา / คน / ปี

Expected Number of Admitted Students

3

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร / ปี

Duration of Study (Years)

400,000

ค่าธรรมเนียมการศึกษา ตลอดหลักสูตร

Fixed-Rate Tuition fee (THB)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์ : 055-963180
e-Mail : sgtech@nu.ac.th

โครงสร้างหลักสูตร

ปริญญาเอก แบบ 2 ภาคการศึกษา (ภาคปกติ)

แผนการศึกษา

ปริญญาเอก แบบ 2 ภาคการศึกษา (ภาคปกติ)

ปรัชญาของหลักสูตร

     มุ่งเน้นผลิตบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถด้านสมาร์ตกริดเทคโนโลยี สามารถบูรณาการสร้าง องค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้และสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ และของโลก

ความสำคัญของหลักสูตร

      การพัฒนาให้ระบบไฟฟ้าสามารถตอบสนองต่อการทำงานได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น หรือมีความสามารถมากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรที่น้อยลง มีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ มีความปลอดภัย มีความยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสื่อสารสารสนเทศ ระบบเซนเซอร์ ระบบเก็บข้อมูลและเทคโนโลยีทางด้านการควบคุมอัตโนมัติเพื่อทำให้ระบบไฟฟ้ากำลัง สามารถรับรู้ข้อมูลสถานะต่างๆ ในระบบมากขึ้นเพื่อใช้ในการตัดสินใจอย่างอัตโนมัติ ทั้งนี้ กระบวนการเหล่านี้จะต้องเกิดขึ้นทั่วทั้งระบบไฟฟ้าครอบคลุม ระบบผลิต ระบบส่งระบบจำหน่าย และระบบผู้ใช้ไฟฟ้า ระบบโครงข่ายสมาร์ตกริดมีองค์ประกอบพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี ที่มีคุณสมบัติสามารถตรวจวัด รับส่งสัญญาณข้อมูลทำงานร่วมกับอุปกรณ์และระบบไฟฟ้าอื่นๆ ได้ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในกลุ่มต่างๆ ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ พีเพิลแวร์ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology, ICT) เทคโนโลยีการผลิตพลังงานไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบกระจายศูนย์ (Renewable Energy Distributed Generation) เทคโนโลยีสะสมพลังงาน (Energy Storage Technology) สถานีประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle Changing Station Infrastructure) การส่งจ่ายไฟฟ้า เทคโนโลยีการควบคุมโครงข่ายไฟฟ้าอัตโนมัติ เทคโนโลยีสมาร์ตมิเตอร์ (Smart Meter), การตอบสนองความต้องการไฟฟ้า (Demand Response) อัตราค่าไฟตามเวลาจริง (Real Time Pricing) เทคโนโลยีการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า (Energy Management System, EMS) ได้แก่ ภายในบ้าน (Home Energy Management System, HEMS), ภายในอาคาร (Building Energy Management System, BEMS), ภายในโรงงาน (Factory Energy Management System, FEMS) และภายในชุมชน (Community Energy Management System, CEMS) เป็นต้น หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสมาร์ตกริดเทคโนโลยี เป็นหลักสูตรที่มุ่งส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านสมาร์ตกริดเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการผลิตงานวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สมาร์ตกริด พัฒนาศักยภาพการผลิต การใช้และตลาดพลังงาน ตลอดจนการพัฒนาเครือข่ายด้านพลังงานที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในทุกระดับ เพื่อแก้ปัญหาด้านพลังงานของประเทศ ภูมิภาคและของโลกได้อย่างเป็นระบบ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

1) บุคลากรของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง
2) อาจารย์ประจำสถาบันการศึกษา
3) นักวิจัยประจำสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา บริษัทเอกชน
4) นักวิทยาศาสตร์ในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงพลังงานและกระทรวงอื่นๆที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5) ผู้ประกอบธุรกิจด้านอุตสาหกรรมพลังงาน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1. คุณธรรม จริยธรรม

1. ทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม (ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม)
    1.1 สามารถแก้ไขปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม ยุติธรรมและชัดเจน โดยคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น
    1.2  สามารถวิเคราะห์ปัญหาทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
    1.3  มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความรับผิดชอบ มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
    1.4  มีภาวะความเป็นผู้นำ ในการปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรม จริยธรรม ได้อย่างเหมาะสม

2. ความรู้

2. ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ 
    2.1  สามารถพัฒนานวัตกรรมและสร้างองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาสมาร์ตกริดเทคโนโลยี
    2.2  มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้และลึกซึ้งในองค์ความรู้ที่เป็นแก่นในสาขาวิชาสมาร์ตกริดเทคโนโลยีและรู้เท่าทัน สถานการณ์ด้านสมาร์ตกริดในระดับชาติและระดับนานาชาติ
    2.3  มีความรู้ในเทคนิคการวิจัยและพัฒนาข้อสรุปซึ่งเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาสมาร์ตกริดเทคโนโลยีได้อย่างชาญฉลาด

3. ทักษะทางปัญญา

3. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

     3.1  สามารถใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแสวงหาความรู้เพื่อวิเคราะห์ประเด็นและแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการใหม่อย่างสร้างสรรค์
     3.2  สามารถบูรณาการผลการวิจัยและทฤษฎีทั้งจากภายในและภายนอกสาขาวิชาเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจใหม่
     3.3 สามารถออกแบบและดำเนินการโครงการวิจัยในเรื่องที่ซับซ้อนที่เกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ด้านสมาร์ตกริดเทคโนโลยีได้อย่างมีนัยสำคัญ

4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

4. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ 

     4.1 มีความสามารถสูงในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการและสามารถวางแผนวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนด้วยตนเอง
     4.2 มีความเป็นผู้นำในทางวิชาการอย่างโดดเด่น สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรม กลุ่มอย่างสร้างสรรค์
     4.3 สามารถวางแผนในการปรับปรุงตนเองและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

5. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 

      5.1  สามารถใช้ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่สำคัญและซับซ้อนได้ รวมถึงสรุปปัญหาและเสนอแนะแก้ไขปัญหา ในด้านต่างๆ โดยเจาะลึกในสาขาวิชาพลังงานทดแทน
      5.2  สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับกลุ่มบุคคล ต่างๆ ในวงการวิชาการและชุมชนทั่วไป โดยการนำเสนอรายงานในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ รวมทั้งวิทยานิพนธ์หรือโครงการค้นคว้าที่สำคัญ
      5.3  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนวัตกรรมและสถานการณ์ด้านสมาร์ตกริดเทคโนโลยีของโลก